วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2561

021saowalak: สื่อการสอนคณิตศาสตร์


สื่อการสอนคณิตศาสตร์
เกื้อจิตต์  ฉิมทิม  (2532)  ได้กล่าวถึงสื่อการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ไว้ดังนี้
ความสำคัญของสื่อการเรียนการสอน
ในการที่ครูจะถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักเรียนนั้นจะต้องอาศัยวิชาการหลาย ๆ อย่าง  เพราะปัจจุบันครูไม่ใช่ผู้บอก  ครูเป็นเพียงผู้แนะแนวทาง  ที่จะไห้นักเรียนได้ค้นคิดด้วยตนเอง  การที่ใช้รูปธรรมเข้าข่าย
นั้น  จะทำให้นักเรียนเข้าใจยิ่งขึ้น  สื่อการเรียนการสอนนั้นจึงมีความสำคัญ
1.ช่วยให้นักเรียนเรียนรู้จาการได้รับประสบการณ์หลายรูปแบบ ซึ่งช่วยให้นักเรียนเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมยิ่งขึ้น
2. ช่วยให้นักเรียนเข้าใจและจดจำหลักการและความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ได้นาน
3.เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล บางคนเข้าใจหลักการและความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์จากการอธิบาย บางคนจะเข้าใจได้จากการดูภาพหรือสื่อการสอนอื่น ๆ
4. ส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
5.  ส่งเสริมให้เกิด เจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์
6.  ช่วยให้นักเรียนสนใจบทเรียน
7.  ช่วยประหยัดเวลาในการสอน
สื่อการสอนคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษา
คณิตศาสตร์เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับนามธรรมในการสร้างความเข้าใจระยะเริ่มแรกของการสอนหากใช้สิ่งที่เป็นรูปธรรมช่วยอธิบายนามธรรมจะง่ายต่อการเรียนรู้สื่อการเรียนการสอนจึงมีความสำคัญต่อการสร้างประสิทธิภาพในการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์อย่างยิ่งมีนักการศึกษาได้กล่าวไว้ว่า    เด็กในวัยประถมศึกษาสามารถเรียนรู้และเข้าใจแนวคิดทางคณิตศาสตร์ได้  ถ้าครูจัดบทเรียนโดยใช้สื่อการสอนคณิตศาสตร์ได้เหมาะกับวัย  ระดับความรู้  และความสามารถของผู้เรียน  หมายความว่าสื่อการสอนคณิตศาสตร์จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  มีประสบการณ์มีความคิดที่เป็นเหตุผล  กิจกรรมการเรียนการสอนที่มีต่อสิ่งของ  รูปภาพ  สิ่งที่แทนสิ่งของที่กล่าวถึงจะช่วยให้ผู้เรียนสัมผัสกับสถานการณ์ต่าง ๆ   ที่เกิดขึ้นกระบวนการความคิดที่เป็นเหตุผล  การพัฒนาปัญญาของเด็ก  มีส่วนเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมและภาษาของชุมชนนั้น ๆ  
ถ้าผู้เรียนมีประสบการณ์จากของจริง  หรือสิ่งที่ทราบของจริงในเรื่องนั้นบ่อย ๆ
การผลิตสื่อการสอนคณิตศาสตร์
จากการวิจัยบทความทางวิชาการของนักการศึกษาส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่าสื่อการสอนสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของนักเรียนได้อย่างมีความหมาย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักการในการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่นั้นในด้านการสร้างความรู้  ความเข้าใจ  จากกิจกรรมประสบการณ์และของจริงหรืออุปกรณ์  จึงทำให้แนวการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเปลี่ยนไป  กล่าวคือจากการสอนโดยยึดครูเป็นศูนย์กลาง  มาเป็นการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมากยิ่งขึ้น  จึงทำให้สื่อสารสอนกับกิจกรรมการเรียนและกิจกรรมการสอนของครูเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด  และมีอิทธิพลต่อกันอย่างมาก  การใช้สื่อการสอนประกอบการสอนจึงเป็นความหวังที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการเรียนการสอน  ทั้งนี้เพราะสื่อนั้นเปรียบเสมือนตัวกลางที่อธิบายมโนมติคณิตศาสตร์ให้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น  จนเกิดความเข้าใจและนำไปใช้ได้ในที่สุด  นอกจากนี้สื่อยังเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการรับรู้มโนมติคณิตศาสตร์ใหม่ ๆ  อีกด้วย  ถ้าผู้ผลิตสามารถตกแต่ง  ออกแบบให้สวยงามได้ทั้งยังทำให้บรรยากาศของการเรียนรู้มีชีวิตชีวายิ่งขึ้น
ในการสร้างสื่อการสอนคณิตศาสตร์  ขั้นการผลิตสื่อการสอนนับเป็นขั้นที่จะต้องลงมือปฏิบัติจริง  นับเป็นขั้นสำคัญก่อนที่จะได้เริ่มสอน  ถ้าการเรียนการสอนใดได้ใช้สื่อการสอนที่ผลิตขึ้นมาอย่างมีคุณภาพ  ก็จะทำให้การเรียนการสอนนั้นได้ผลดีขึ้น  ครูส่วนมากนิยมที่จะผลิตสื่อการสอนขึ้นใช้เองมากกว่าการซื้อหามาใช้เพราะการผลิตใช้เองเป็นการประหยัดและตรงกับวัตถุประสงค์ของการใช้  ตลอดจนสอดคล้องกับ
เนื้อหาและความต้องการมากกว่า
องค์ประกอบของการผลิตสื่อการสอนคณิตศาสตร์
ในขั้นของการผลิตสื่อการสอนนี้  ปัญหาส่วนใหญ่ที่ครูมักจะวิตกกังวลก็คือ  งบประมาณในการผลิตการผลิตสื่อคณิตศาสตร์แต่ละชนิดต่างมีราคาแตกต่างกัน  บางชนิดอาจไม่จำเป็นต้องใช้เงินมาก  แต่บางชนิดก็จำเป็นต้องใช้งบประมาณในการผลิตค่อนข้างสูง  ฉะนั้น  ในเรื่องงบประมาณ  จึงมีความสัมพันธ์กับชนิดของสื่อการสอนเป็นอย่างมาก  อย่างไรก็ดี  วัสดุหรือสื่อการสอนที่จะต้องใช้งบประมาณและเทคนิคค่อนช้างสูง  จะถูกจัดอยู่ในพวกเสียค่าใช้จ่ายสูง  แต่ในเวลาเดียวกันก็จะมีสื่อการสอนอีกประเภทหนึ่ง  ที่ไม่
จำเป็นต้องลงทุนในการผลิตสูง  ดังนั้นก่อนที่ครูจะผลิตสื่อ  ควรคำนึงถึงองค์ประกอบของการผลิตดังนี้
1.  วัตถุประสงค์และเนื้อหาของบทเรียน ก่อนที่ครูจะผลิตสื่อควรศึกษาเนื้อหาก่อนว่าในบทเรียน
นั้นมีจุดประสงค์การเรียนรู้อย่างไร เพื่อครูจะได้ดำเนินการผลิตได้ตรงตามเป้าประสงค์
จากแผนภูมิจะพบว่าในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์นั้น  จะต้องเริ่มต้นความเข้าใจในมโนมติก่อนหลังจากนั้นจึงฝึกทักษะให้เกิดความชำนาญแล้วจึงประยุกต์ความรู้เหล่านั้นไปใช้ในสถานการณ์จริง ๆ  หรือในชีวิตประจำวัน  ในกรณีเช่นนี้สื่อจะเข้ามามีบทบาทช่วยในการพัฒนามโนมติ  ทักษะและการนำไปใช้  ดังนั้นในการผลิตสื่อแต่ละครั้ง  ต้องคำนึงด้วยว่าจะใช้สื่อพัฒนาอะไร  สื่อบางชนิดเมื่อผลิตแล้วสามารถพัฒนาได้หลายทักษะ  บางชนิดพัฒนาได้เพิ่มทักษะเดียว  ฉะนั้น  ทุกครั้งที่ผู้สอนจะผลิตจึงควรพิจารณาถึง
ทักษะต่าง ๆ  ที่ต้องการจะพัฒนาในเนื้อหานั้น ๆ
2.  วัสดุ หมายถึง ความรู้ความเข้าใจในตัววัสดุที่จะนำมาใช้ประกอบว่าจะใช้วัสดุประเภทใดจึงจะเหมาะสมในการเลือกวัสดุไม่จำเป็นต้องใช้ของที่มีราคาแพง วัตถุประสงค์ของสื่อที่ต้องผลิตนั้นก็คือนำไปใช้พัฒนาแนวคิดหรือทักษะทางคณิตสาสตร์เท่านั้น ซึ่งวัสดุแยกออกได้ดังนี้คือ
2.1 วัสดุประกอบการสอนประเภทสิ่งพิมพ์ซึ่งได้แก่ แบบเรียน คู่มือครู โครงการสอนเอกสารประกอบการสอน วารสาร จุลสาร บทเรียนแบบโปรแกรม เอกสารแนะแนวทางเป็นต้น
2.2 วัสดุประดิษฐ์  เป็นสิ่งที่ครูทำขึ้นเอง  อาจจะใช้กระดาษ  ไม้  พลาสติก  และสิ่งอื่น ๆ  ครูประดิษฐ์ขึ้นประกอบการเรียนการสอน  เช่นใช้กระดาษทำรูปทรงต่าง ๆ  ทางเรขาคณิต  เป็นต้นว่า  รูปกรวยกลม  ปริซึม  ปิระมิด  ชุดการสอน  ภาพเขียน  ภาพโปร่งใส  ภาพถ่าย  แผนภูมิ  บัตรคำ  กระเป๋าผนัง  แผนภาพพลิก  กระดานตะปู  เป็นต้น
2.3 วัสดุถาวร  ได้แก่กระดานดำ  กระดานนิเทศ  กระดานกราฟ  ของจริง  ของจำลอง  ของตัวอย่าง  เทปบันทึกภาพ  เทปเสียง  โปสเตอร์  แผนที่  แผ่นเสียง  ฟิล์มสตริป
2.4 วัสดุสิ้นเปลือง ชอล์ก สไลด์ ฟิล์ม เป็นต้น
3.  ประสบการณ์  ในการผลิตสื่อคณิตศาสตร์นั้นในบางครั้ง  ผู้สอนจะต้องศึกษาด้วยตนเองเพราะบางเนื้อหาในตำรานั้น ๆ  อาจจะแนะนำการผลิตสื่อไว้คร่าว ๆ  หรือบางครั้งไม่มีเขียนระบุไว้  ถ้าผู้สอนสามารถหาประสบการณ์ตรงได้  โดยศึกษาจากตำราหลาย ๆ  เล่ม  การสังเกต  สอบถาม  และลงมือกระทำด้วยตนเองในการผลิตสื่อนั้น  ถ้าผู้สอนเคยผลิตมาบ้างก็จะรู้และเข้าใจจุดดีและข้อความแก้ไขของสื่อนั้น ๆ
แล้วยังสามารถนำมาประยุกต์พัฒนาให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ยิ่งขึ้น
แนวคิดในการผลิตสื่อการสอนคณิตศาสตร์
แนวคิดในการผลิตสื่อการสอนคณิตศาสตร์นั้นนอกจากผู้ผลิตจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบของการ
ผลิตแล้วยังควรคำนึงถึงเกณฑ์ในการผลิตสื่อคณิตศาสตร์ดังนี้
1. เกณฑ์ด้านการสอน (Pedagogical Criteria)
- กระตุ้นความสนใจ
- อธิบายมโนมติทางคณิตศาสตร์
- เชื่อมโยงนามธรรมและรูปธรรม
- อเนกประสงค์
2. เกณฑ์ด้านกายภาพ (Physical Criteria)
- ความสวยงาม
- ความเรียบง่าย
- ขนาดเหมาะสม
- ราคาไม่แพง
- ความคงทน
หลักการใช้สื่อการสอนคณิตศาสตร์
ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละครั้ง  ไม่ว่าจะใช้เวลาในการสอนมากน้อยเพียงใด  จะต้องมีความเกี่ยวข้องกับหลายสิ่งหลายอย่าง  เช่น  ตัวครู   นักเรียน  สื่อการสอน  และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ  ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยในการดำเนินกิจการนั้นบรรลุตามจุดมุ่งหมายหรือไม่
- การเรียนการสอน
- ขบวนการวัดและประเมินผล
- ประสบการณ์การเรียนรู้
1. วัตถุประสงค์การเรียน
วัตถุประสงค์เป็นองค์ประกอบที่ที่สำคัญที่สุดจะมีส่วนในการกำหนดประเภทและขอบเขตของเนื้อหา สื่อการสอนที่สร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์จะเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนสูงสุด ถ้าครูรู้จักนำสื่อการมาประกอบให้ถูกต้องแล้ว เชื่อได้แน่นอนว่าแนวคิดที่จะได้มีความผิดพลาดน้อยที่สุดการใช้สื่อการสอนสำหรับการฝึกปฏิบัติเป็นสิ่งจำเป็นที่สุดจะขาดเสียมิได้ ผู้เรียนจะบรรลุวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับสื่อการสอนนั้น ๆ จะเป็นเครื่องมือนำผู้เรียนให้บรรลุผลตามความมุ่ง
หมาย
2. ประสบการณ์การเรียนรู้
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับนักเรียนนั้น สามารถใช้สื่อประกอบการสอนได้ 3 ขั้นตอนได้แก่
2.1 การใช้สื่อขั้นนำเข้าสู่บทเรียน การนำเข้าสู่บทเรียนในวิชาคณิตศาสตร์ ส่วนมากจะเป็นการทบทวนเนื้อหาเดิมให้สัมพันธ์กับเนื้อหาใหม่ จึงเป็นขั้นที่จะต้องพยายามกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในบทเรียนที่กำลังจะเรียน การใช้สื่อในขั้นนี้จึงมิได้เน้นเนื้อหาที่เจาะลึกลงมากนัก แต่จะเป็นสื่อแสดงถึงเนื้อหา
2.2 การใช้สื่อขั้นกิจกรรมการเรียนการสอน ขั้นนี้จะดำเนินหลังจากที่ครูได้นำเข้าสู่บทเรียนแล้วนับเป็นขั้นที่มีความสำคัญต่อการเรียน ผู้สอนส่วนใหญ่จะใช้สื่อสอนมโนมติคณิตศาสตร์ ในขั้นกิจกรรมการเรียนการสอน โดยผู้สอนควรจะต้องมีขบวนการตามลำดับขั้นดังนี้คือ
2.3 การใช้สื่อขั้นสรุปบทเรียน  ก่อนที่การเรียนการสอนจะยุติลง  การสรุปบทเรียนนับเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งที่จะต้องจัดให้มีขึ้น  ทั้งนี้เพื่อเป็นการย้ำบทเรียนให้เด่นชัดและเพื่อปรับให้ผู้เรียนทุกคนมีความเข้าใจตรงกัน  และตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้สอนด้วย  การสรุปบทเรียนคณิตศาสตร์หมายถึงการสรุปความคิดรวบยอดของเนื้อหาที่เรียนไปแล้ว  ฉะนั้น  ในขั้นนี้จะใช้เวลาไม่มากเช่นเดียวกับขั้นนำเข้าสู่บทเรียน  ดังนั้น  สื่อที่จะนำไปใช้ในขั้นนี้จะต้องจัดทำสรุปให้ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดและใช้เวลาน้อย  สื่อที่ควรนำไปใช้  ได้แก่  แผนภูมิ  แผ่นป้ายผ้าสำลีแถบประโยคแผ่นโปร่งใส  ป้ายนิเทศหรือสไลด์  เป็นต้น

ยุพิน พิพิธกุล (2530)   ได้กล่าวถึงสื่อการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ไว้ดังนี้
ความหมาย
สื่อการเรียนการสอนสื่อการสอน คือ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ รวมทั้งวิธีการสอน ซึ่งเป็นตัวกลางใน
การถ่ายทอดความรู้ ทักษะและประสบการให้กับผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
ความสำคัญของสื่อการเรียนการสอน
ในการที่ครูจะถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียนนั้นจะต้องอาศัยวิธีการหลายๆอย่าง เพราะปัจจุบันครูไม่ใช่แค่ผู้บอก ครูเพียงเป็นผู้แนะแนวทาง ที่จะให้นักเรียนได้คิดค้นด้วยตนเอง การที่ใช้รูปธรรมเข้าช่วยนั้น
จะทำให้นักเรียนเข้าใจยิ่งขึ้น สื่อการเรียนการสอนนั้นมีความสำคัญดังนี้
ประเภทของสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์
เพื่อให้ครูคณิตศาสตร์ได้เลือกสื่อการสอนตามวามเหมาะสมแก่สภาพท้องถิ่น สภาพโรงเรียน และเป็นไปด้วยความประหยัด สื่อการเรียนการสอนนั้นจะเป็นอะไรก็ได้ที่สามารถทำให้นักเรียนเกิด การเรียนรู้
ซึ่ง ยุพิน พิพิธกุล (2524 : 283 - 284) ได้กล่าวถึงสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ไว้ ดังนี้
1.วัสดุ แบ่งออกได้ดังนี้ คือ
1.1 วัสดุประกอบการสอนประเภทสิ่งพิมพ์ซึ่งได้แก่ แบบเรียนคู่มือครู โครงการสอน                  เอกสารประกอบการสอน วารสาร จุลสาร บทเรียนแบบโปรแกรม เอกสารแนะแนวทาง เป็นต้น
1.2 วัสดุประดิษฐ์ เป็นสิ่งที่ครูทำขึ้นเอง จะใช้กระดาษ ไม้ พลาสติก และสิ่งอื่นๆ ที่ครู      ประดิษฐ์ขึ้นใช้ประกอบการสอน เช่นกระดาษทำรูปทรงต่างๆทางเรขาคณิต เป็นต้นว่า รูปกรวย    ปริซึม พีระมิด ชุดการสอน ภาพเขียน ภาพโปร่งใส ภาพถ่าย แผนภูมิ บัตรคำ กระเป๋าผนัง
1.3 วัสดุถาวร ได้แก่ กระดานดำ กระดานนิเทศ กระดานกราฟ ของจริง ของจำลอง ของ ตัวอย่าง เทปบันทึกภาพ เทปเสียง โปสเตอร์ แผนที่ แผ่นเสียง ฟีล์มสตริป
1.4  วัสดุสิ้นเปลือง ชอร์ก สไลด์ ฟิล์ม ฯลฯ
2.อุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอนประเภทอุปกรณ์ที่ใช้กันมากคือ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ ซึ่งใช้กับ
แผ่นโปร่งใส เครื่องขยายสไลด์และฟีล์มสตริป เครื่องเสียง จอฉายภาพ ฯลฯ
3. กิจกรรม การจัดกิจกรรมต่างๆเป็นสื่อการสอนเช่นเดียวกัน เช่น การทดลอง การจัดนิทรรศการ การเล่นละคร การเล่าเรียน การศึกษานอกสถานที่ การสาธิต การทำโครงงาน การร้องเพลง คำประพันธ์
ประเภทร้อยกรอง (กลอน กาพย์ โคลง ฯลฯ) เกมปริศนา
4.สิ่งแวดล้อม เป็นสื่อการสอนที่หาได้ง่าย เช่น เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ครูควรแสวงหาสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรามาใช้ เพื่อเป็นการประหยัด สื่อการเรียนการสอนนั้น ไม่จำเป็นจะต้องมีราคาแพง แม้แต่ตัวคนหรือนักเรียนเองก็ถือว่าเป็นสื่อการเรียนการสอน นอกจากนั้น พวกประเภทของจริงก็ใช้ได้ เช่น ใช้ผลไม้มา
แบ่งเพื่อสอนเรื่องเศษส่วน เป็นต้น
ได้กล่าวสรุปถึงความสำคัญของสื่อการสอน ดังนี้
1.ในการสอนนั้นจะต้องให้นักเรียนได้รับประสบการณ์หลายๆด้าน สื่อการเรียนการสอนจะช่วยให้เข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น
2.เนื่องจากนักเรียนมีความสามารถแตกต่างกันนักเรียนบางคนใช้เพียงการอธิบายก็เข้าใจแต่บางคนต้องให้ดูรูปภพ ดูวัสดุประกอบจึงจะเข้าใจได้
3.เพื่อให้นักเรียนเกิดความสนใจและประหยัดเวลาในการสอน
4.เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรมทำให้เกิดความเข้าใจแน่นแฟ้มและจำไปใช้ได้นาน
5.เพื่อเสริมสร้างเจตคติที่ดีแก่นักเรียนและทำให้นักเรียนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
6.การที่จะทำให้นักเรียนเกิดความสนใจได้นั้น ครูควรจะเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการ
ทำและใช้สื่อการเรียนการสอนนั้นๆ

สมชาย ลีลานิตย์กุล (2553) ได้กล่าวถึงสื่อการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ไว้ดังนี้
หลักการผลิตสื่อการสอนคณิตศาสตร์
วิชาคณิตศาสตร์มีจุดประสงค์ที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการทางคณิตศาสตร์ เกิดทักษะและเห็นคุณค่า ฝึกฝนให้ผู้เรียนมีสมาธิ ความสังเกต คิดตามลำดับเหตุผล มีความมั่นใจตลอดจนแสดงความรู้สึกนั้นออกมาอย่างเป็นระเบียบง่าย สั้น ชัดเจน มีความประณีต ละเอียดถี่ถ้วน แม่นยำ และรวดเร็ว ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ แต่ที่ผ่านมา การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษายังไม่เป็นที่น่าพอใจ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนยังต่ำกว่ากลุ่มประสบการณ์อื่นๆ การจัดการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาให้มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบทางกระบวนการจัดการศึกษา อันประกอบด้วยกระบวนการบริหารกระบวนการจัดการเรียนการสอนและกระบวนการนิเทศการศึกษา สภาพการนิเทศการสอนที่ปฏิบัติในปัจจุบัน พบว่า เป็นความต้องการของผู้นิเทศเองที่ต้องการปฏิบัติและทำงานตามหน้าที่ แต่สภาพที่แท้จริงมีความต้องการให้การนิเทศการสอนเกิดจากความต้องการของครูที่จะรับการนิเทศการสอน จากสภาพปัญหาคุณภาพด้านการเรียนกลุ่มทักษะคณิตศาสตร์และการนิเทศดังกล่าวจึงมีความจำเป็นที่ต้องเริ่มต้นศึกษาจากครูผู้สอน กล่าวคือ ให้ครูมีส่วนร่วมในการพิจารณาว่าจะให้ผู้นิเทศช่วยเหลือในเรื่องในจึงจะตรงตามความต้องการของเขา ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะทราบว่าครูสอนคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษาปีที่ 4 ในจังหวัดปัตตานี มีความต้องการการนิเทศด้านใดอยู่ในระดับใด ครูที่มีระดับการศึกษา สาขาวิชาเอกและประสบการณ์การสอนต่างกันจะมีความต้องการการนิเทศต่างกันหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อจะได้นำผลการวิจัยไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาการประถมศึกษา
ต่อไป
แนวทางการผลิตและเลือกสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร์ มีดังนี้
1.ต้องผลิตสื่อตามเนื้อหาที่ผ่านการวิเคราะห์แล้ว โดยกำหนดเป็นหน่วยที่แยกย่อยลงไปจนถึงหนึ่งหน่วยต่อการสอน 1 ครั้ง
2.ควรผลิตและเลือกสื่อการสอนในลักษณะที่มีสื่อมาประกอบกันเป็นชุดการสอน 1 ชุด สำหรับการสอน 1 ครั้ง โดยมีชุดอุปกรณ์ประกอบด้วย
3.ต้องตระหนักอยู่เสมอว่า การสอนคณิตศาสตร์ทำไม่ได้เพียงด้วยการพูดให้ฟัง ดังนั้นจึงควรผลิตและใช้สื่อการสอนในทุกโอกาสที่จะทำได้
4.การผลิตและเลือกสื่อการสอน ควรคำนึงถึงธรรมชาติของสื่อในการที่จะช่วยสร้างประสบการณ์ รูปธรรมให้ ผู้เรียนมากที่สุด ทั้งที่เป็นสื่อที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น เช่น เมล็ดพืช ก้อนกรวด ก้อนหิน ฯลฯ และสื่อที่มีผู้ผลิตจำหน่าย เช่น ไม้บล็อก หรือภาพยนตร์ที่แสดงให้เห็นการเกิดรูปทรงต่าง ๆ โดยเทคนิคการสร้างภาพเคลื่อนไหวเข้าช่วย
5.การเรียนคณิตศาสตร์ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน การฝึกฝนแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ จึงเป็นกิจกรรมที่ต้องบูรณาการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตสื่อการสอนคณิตศาสตร์
6.ก่อนผลิตและเลือกสื่อการสอนคณิตศาสตร์ ครูควรได้ศึกษาวิธีการจากระบบสื่อการสอน คณิตศาสตร์ที่มีผู้คิดขึ้นแล้ว เพื่อเป็นแนวทางในการผลิตสื่อ

สื่อคณิตศาสตร์
เรื่อง เกมส์คณิต จับคู่ เรียงกันมากสุด ชนะ (เกมส์งู จับคู่ 5,10)

อุปกรณ์
1. กระดาษ
2. หมากสี สองสี หลายอัน (แบบอื่นได้นะ ถ้าไม่มี)
วิธีทำ
1. ปริ้นกระดาษ หรือ ใช้กระดาษ A4
2. เขียนตัวเลข 0–10 ลงไปหรือ 0-5 จำนวนคู่ (เช่น 16 ตัว, 24 ตัว …) พยายามเขียนตัวเลข ให้จับคู่
กันได้ 5,10 ในกระดาษ
วิธีเล่น
1. วางแผ่นเกมส์ลงบนโต๊ะ
2. แจกหมากให้ผู้เล่นคนละเท่าๆกัน
3. ผู้เล่นแต่ละคน ได้เล่นรอบละครั้ง เสี่ยงดวงว่าใครจะได้เล่นก่อน
4. จับคู่ 5, 10 ได้ ให้วางหมากของตัวเองลงไป พยายามเรียงสีหมากของตัวเอง ให้ได้มากที่สุด
5. เมื่อเล่นจนหมดกระดาน ให้ตรวจว่าใครชนะด้วย สีหมากของใคร เรียงกันมากที่สุด ชนะ
6. ในตัวอย่างที่ให้ดูด้านบน สีแดงชนะ เพราะหมากเรียงกันได้ 4 อัน


ที่มา
p-ject. (2558). http://p-ject.com [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 23  สิงหาคม 2561
อุไรวรรณ.(2553).http://teaching-maths3.blogspot.com/2010/07/blog-post_1999.html[ออนไลน์].เข้าถึงเมื่อ       
               วันที่ 20  สิงหาคม 2561
สำนักการศึกษา. (2558). http://bmamedia.in.th/bmamedia/?cat=10 [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม
                2561

           
           




วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2561

021saowalak: นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครูคณิตศาสตร์


นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครูคณิตศาสตร์

อัมพร ม้าคะนอง. (2553). ได้กล่าวถึงนวัตกรรมคณิตศาสตร์ จากการคิดสู่ทักษะชีวิตไว้ดังนี้
            การคิด (thinking) มีความสำคัญต่อมนุษย์ทุกเพศทุกวัย ในวันๆหนึ่งมนุษย์ต้องใช้การคิดอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการคิดเรื่องอาหาร การเดินทาง การทำงาน การศึกษา การใช้จ่าย การแก้ปัญหาส่วนตัว ซึ่งประสิทธิภาพการคิดของบุคคลจะแตกต่างกันออกไป บางคนคิดเร็ว บางคนคิดช้า  การฝึกการคิด เพื่อให้เป็นคนที่คิดเร็วและมีประสิทธิภาพจึงมีความสำคัญ เนื่องจากในชีวิตประจำวัน การคิดเป็นองค์ประกอบพื้นฐาน ของทักษะชีวิต (life skill) มนุษย์ต้องการมีและใช้ทักษะชีวิตที่มีคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นทักษะการตัดสินใจ การแก้ปัญหา การสื่อสาร การคิดวิเคราะห์วิจารณ์ การคิดสร้างสรรค์ การตระหนักรู้ในตน การเห็นใจกับผู้อื่น การจัดการกับอารมณ์ การจัดการกับความเครียด และการสร้างสัมพันธภาพ การสอนให้คิด (Teaching of thinking) ซึ่งเป็นการสอนเกี่ยวกับกระบวนการที่จะนำมาใช้ในการคิด จึงมีความสำคัญที่จะร่วมกันส่งเสริมทักษะชีวิตของผู้เรียน
            ลักษณะของการคิดทางคณิตศาสตร์มีหลากหลาย เช่น การคิดเพื่อแก้ปัญหา การคิดแบบเป็นเหตุเป็นผล การคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดแบบอุปนัย การคิดแบบนิรนัย ซึ่งการคิดเกี่ยวกับสถานการณ์ใดๆก็ตาม มักใช้การคิดหลายประเภทร่วมกัน เช่น ในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์หนึ่ง ปัญหาผู้เรียน อาจต้องใช้การคิดวิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจปัญหา ใช้การคิดแบบนิรนัยในการเลือกใช้ทฤษฎีบท สูตร นิยาม ที่จะแก้ปัญหาได้ ใช้การคิดแบบเป็นเหตุเป็นผลในการตรวจสอบคำตอบที่ได้ เป็นต้น แนวคิดของการพัฒนาความคิดหลากหลายลักษณะร่วมกัน จึงได้รับความสนใจในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม นวัตกรรมทางคณิตศาสตร์ ที่จะใช้ในการฝึกคิดให้กับผู้เรียนตามแนวคิดนี้มีมากมาย แนวคิดหนึ่ง คือ การฝึกการคิดตามทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์โดยลดการคิดคำนวณเชิงปริมาณ แต่เพิ่มการคิดเชิงนามธรรม ดัง
ตัวอย่างปัญหาสถานการณ์ และกิจกรรมต่อไปนี้
โจทย์ปัญหา ถ้า X,Y,Z,W เป็นจำนวนเต็มบวกใดๆ และ X + 1 = Y-2 = Z+3 = W-4 แล้ว จำนวนใดเป็น
                    จำนวนที่มีค่ามากที่สุด
            ปัญหาลักษณะนี้ใช้ฝึกการคิดได้ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา เป็นต้นไป เนื่องจากใช้ความรู้เชิงจำนวนประกอบการคิด การคิดเชิงเปรียบเทียบ การคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล ในการที่จะบอกๆได้ว่า W เป็นจำนวนที่มีค่ามากที่สุดนั้น ต้องให้เหตุผลได้ว่า เพราะ W ต้องถูกลบออกถึง 4 หน่วย ในขณะที่จำนวนอื่นถูกลบออกน้อยกว่า หรือต้องถูกบวกเพิ่ม การคิดลักษณะนี้เป็นการคิดเชิงนามธรรมที่อธิบายกระบวนการทำงานได้ยาก แต่อธิบายวิธีคิดที่เป็นเหตุเป็นผลได้ง่ายกว่า อย่างไรก็ตามอาจจะมีคนตอบว่า Z มีค่ามากที่สุด เนื่องจากมีการบวกด้วย 3 คำตอบเช่นนี้เป็นผลของการคิดระดับต้น ที่คิดตามสัญลักษณ์ที่ปรากฏ

โจทย์ปัญหา  มีเด็ก 3 คน คือ ปัญชลี ศักดิ์ชัย และมะลิวรรณ มีนามสกุล 3 นามสกุล คือ สุขศจี สิทธา และสุ
        ลักษณ์ มีอายุ 3 ระดับ คือ 7, 9 และ 10 ปี จากข้อมูลที่กำหนดให้ต่อไปนี้ จงบอกชื่อ นามสกุล
        และอายุของเด็กแต่ละคน โดย
            1. เด็กหญิงที่มีนามสกุลว่า สุขศจีมีอายุมากกว่ามะลิวรรณ 3 ปี
            2. เด็กที่มีนามสกุลว่า สิทธิมีอายุ 9 ปี
            การเริ่มต้นคิดแก้ปัญหานี้ อาจยากอยู่บ้าง เนื่องจากเป็นการคิดหลายมิติในเวลาเดียวกัน คือ มิติของชื่อ มิติของนามสกุล และมิติของอายุ สิ่งที่อาจต้องคิดก่อนอื่น คือ การคิดหาวิธีคิดที่เป็นระบบและทำให้มิติทั้งสามสอดคล้องกัน วิธีหนึ่งที่เป็นไปได้ คือ การใช้ตารางช่วย ดังนี้
ชื่อ
นามสกุล
อายุ (ปี)
ปัญชลี
สุขศจี
10
ศักดิ์ชัย
สิทธา
9
มะลิวรรณ
สุลักษณ์
7


        


สถานการณ์ หากท่านต้องการต้มไข่ให้เสร็จภายในเวลา 15 นาที ท่านจะทำอย่างไร เมื่อมีนาฬิกาทรายบอก
                     เวลา 7 นาที กับ 11 นาทีอยู่ อย่างละหนึ่งอัน
            สถานการณ์นี้ต้องการการคิดเชิงตรรกะ ซึ่งอาจคิดได้หลายวิธี แต่วิธีหนึ่งที่ไม่ยากนัก คือ วางนาฬิกาทรายบอกเวลา 7 นาที และ 11 นาทีพร้อมกัน เมื่อทรายจากอัน7 นาทีหมดให้เริ่มต้มไข่ เมื่อทรายจากอัน 11 หมด จะได้ว่าต้มไข่ไปแล้ว 4 นาที จากนั้นจึงกลับนาฬิกาทรายที่บอกเวลา  11 นาทีอีกครั้ง เมื่อทราย
ไหลลงมาหมด จะได้เวลาต้มไข่ เท่ากับ 4 + 11 หรือ 15 นาทีตามที่ต้องการ
สถานการณ์ ท่านคิดว่าร่างกายของท่านเป็นอย่างไร อ้วนไป ผอมไป หรือพอดี ท่านจะทราบได้อย่างไรว่าสิ่ง
                     ที่ท่านคิด ถูกหรือผิด
สถานการณ์นี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับตัวผู้เรียน ซึ่งต้องใช้ความรู้ประกอบการคิดและการคำนวณผู้เรียนบางคนอาจบอกว่า ลองนำน้ำหนักที่มีหน่วยเป็นกิโลกรัมไปลบออกจากส่วนสูงที่เป็นซนติเมตร ถ้าไม่น้อยกว่า 110 ยังถือว่าไม่อ้วน เช่น ถ้าน้ำหนัก 52 กิโลกรัม สูง 165 เซนติเมตร จะได้ 165 – 52 = 113 แสดงว่าไม่อ้วน
            แต่บางคนอาจคิดถึงดัชนีวัดความอ้วนอย่างอื่น เช่น ดัชนีมวลกายที่คำนวณจากน้ำหนักและส่วนสูง ดังนี้           

            และเมื่อนำมาเทียบกับตารางต่อไปนี้ จะทำให้ทราบระดับความอ้วนและความเสี่ยงต่อการเป็นโรค ดังนี้
ดัชนีมวลกาย
ระดับความอ้วน
ความเสี่ยงต่อการเป็นโรค
มากกว่า 35.0
อ้วนมาก
รุนแรง รุนแรงมาก
30.0 – 34.9
อ้วน
ปานกลาง
25.0 – 29.9
น้ำหนักมากเกินไป
มากกว่าปกติ
18.5 – 24.5
น้ำหนักพอเหมาะ
ปกติ ต่ำ
น้อยกว่า 18.5
น้ำหนักน้อยหรือผอม
ปานกลาง สูง
            การให้สถานการณ์ในลักษณะนี้ ทำให้ผู้เรียนได้คิดเกี่ยวกับตัวเอง และเห็นความสำคัญของการใช้
ความรู้ที่เรียนในห้องเรียน กับชีวิตประจำวัน
กิจกรรม กำหนดให้ตัวเลขแทนวันดังนี้
                                    1 แทน วันอาทิตย์
                                    2 แทน วันจันทร์
                                    3 แทน วันอังคาร
                                    4 แทน วันพุธ
                                    5 แทน วันพฤหัส
                                    6 แทน วันศุกร์
                                    7 แทน วันเสาร์
            ให้ผู้เรียนทำกิจกรรมตามขั้นตอนต่อไปนี้
                        1. นำตัวเลขแทนวันเกิดของตัวเองยกกำลังสอง
                        2. นำตัวเลขแทนวันเกิดของตัวเองคูณกับ 6
                        3. นำผลลัพธ์ที่ได้จากข้อ 1 และ 2 รวมกัน
                        4. นำผลลัพธ์ที่ได้จากข้อ 3 มาบวก 10
                        5. บอกผลลัพธ์กับครู (ซึ่งครูจะสามารถตอบได้ถูกต้องว่าผู้เรียนเกิดวันอะไร)
                        6. ผู้เรียนหาว่า ครูทราบได้อย่างไรว่าผู้เรียนเกิดวันอะไร



ชาญณรงค์ วิเศษสัตย์. (2555). ได้กล่าวถึงนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในเนื้อหาสาระวิชา
คณิตศาสตร์ ไว้ดังนี้
 ความหมายของ"นวัตกรรมการศึกษา"
นวัตกรรมหมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
 “นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมาความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และ
ถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และ
อินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
 ตัวอย่างนวัตกรรมทางการศึกษาที่นำมาใช้ในการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์
1. โปรเเกรม GSP
     ย่อมาจาก Geometers Sketchpad ยังเป็นของใหม่ในวงการศึกษาไทย แต่กว่า 60 ประเทศทั่วโลก
เขาใช้กันแล้ว โดยแปลเป็นภาษาต่างๆ หากรวมภาษาไทยด้วยก็ 16 ภาษา 
      GSP เป็นโปรแกรมที่ครูสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือเพื่อช่วยให้การเรียนการสอนคณิตศาสตร์มีประสิทธิภาพและน่าสนใจมาก สามารถนำเสนอภาพเคลื่อนไหว (Animation) มาใช้อธิบาย เนื้อหาที่ยากๆ เช่น ทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ (เรขาคณิต พีชคณิต ตรีโกณมิติ แคลคูลัส), ฟิสิกส์ (กลศาสตร์ และอื่นๆ) ให้เป็นรูปธรรม ให้นักเรียนได้เรียนรู้และเข้าใจง่าย และโปรแกรมยังเน้นให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติด้วยตัวเองได้ นอกจากนี้ ยังสามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาอื่นๆ เช่น วิทยาศาสตร์ ศิลปะ อย่างไม่มีข้อจำกัด 
       โปรแกรม GSP พัฒนาขึ้นโดยบริษัท Key Curriculum Press ตั้งแต่ปี ค.ศ.1991 และพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จนถึงเวอร์ชั่น 4.0 โรงเรียนต่างๆ ในสหรัฐอเมริกาใช้โปรแกรมนี้สอนคณิตศาสตร์ในโรงเรียนมากที่สุด และในหลายๆ ประเทศทั่วโลก อาทิ แคนาดา สหราชอาณาจักร สิงคโปร์ มาเลเซีย ไต้หวัน ฮ่องกง เดนมาร์ก ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ได้ใช้โปรแกรมนี้อย่างแพร่หลาย ในส่วนของประเทศไทยนั้นได้ลงนามในพิธีครองลิขสิทธิ์การใช้ซอฟต์แวร์ GSP เวอร์ชั่น 4.0  ณ โรงแรม อิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค กรุงเทพมหานคร 
       โปรแกรมนี้ทำให้ครูและนักเรียนมีเวลาในการเรียนการสอนมากขึ้น เพราะไม่ต้องเสียเวลานานในการสร้างรูป เรขาคณิตจำนวนมากเพื่อพิสูจน์ทฤษฎีต่างๆ อีกทั้งยังทบทวนได้ง่ายและบ่อยขึ้น การสอนด้วยโปรแกรม GSP ยังทำให้นักเรียนเรียนได้สนุก เข้าใจได้เร็ว และน่าตื่นเต้น นอกจากนั้น การใช้ GSP สร้างสื่อการสอนและใบงาน ยังทำได้รวดเร็วและแม่นยำกว่าใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์ออฟฟิศอื่นๆ 
       GSP สามารถสร้าง เกมสนุกๆ ทางคณิตศาสตร์ ได้มากมาย ดังที่ปรากฏในหนังสือ 101 Project Ideas for The Geometers Sketchpad ยกตัวอย่างเช่น เด็กๆ จะได้สนุกกับการสร้างใบหน้าคนจากเส้นโค้ง เส้นตรง วงกลม สี่เหลี่ยม ที่แสดงอารมณ์ปกติและอารมณ์โกรธ และทดลองสร้างภาพด้วยตัวเอง นอกจากนั้น นักออกแบบโปรแกรม GSP ยังใช้สร้างแผนภาพ รูปร่าง รูปทรงสามมิติได้มากมาย 
              2. โปรเเกรม Science Teacher"s Helper (โปรแกรม แก้ไข สูตรคณิตศาสตร์ สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์)
เป็นโปรแกรมแก้ไข สูตรคณิตศาสตร์ หรือแก้ไข สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ เป็นโปรแกรม Add-On สำหรับ Microsoft Word มันถูกออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์เดียวเท่านั้นครับ คือ ช่วยคุณประหยัดเวลาในการเขียนหรือแก้ไข สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์, เคมีและฟิสิกส์ในเอกสาร คุณสามารถที่จะ แก้ไข สูตรคณิตศาสตร์ ใส่ฟังก์ชั่นถึง 1200 ฟังก์ชั่นได้อย่างง่ายๆ กราฟหรือชาร์ตทางฟิสิกส์,เคมีและ
คณิตศาสตร์ลงในเอกสาร MS Word
3. E-Learning 
คำว่า e-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอมการเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น ในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่มักจะใช้คำว่า e-Learning กับการเรียน การสอน หรือการอบรม ที่ใช้เทคโนโลยีของเว็บ (Web Based Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมถึงเทคโนโลยีระบบการจัดการหลักสูตร (Course Management System) ในการบริหารจัดการงานสอนด้านต่างๆ โดยผู้เรียนที่เรียนด้วยระบบ e-Learning นี้สามารถศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ หรือ จากแผ่นซีดี-รอม ก็ได้ และที่สำคัญอีกส่วนคือ เนื้อหาต่างๆ ของ e-Learning สามารถนำเสนอโดยอาศัยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia Technology) และเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบ (Interactive Technology)

สมบัติ  การจนารักพงค์. (2553). ได้กล่าวถึงนวัตกรรมการเรียนการสอนในรายวิชา โดยการจัด

กิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E ไว้ดังนี้
ความเป็นมาของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E ในประเทศไทย
            หากครูผู้สอนนึกย้อนไปในอดีต ตั้งแต่ปี 2517 – 2520 สมัยที่ผู้เขียนตลอดจนครูผู้สอนหลายท่านที่ผ่านการศึกษาวิชาครูมา ได้รับการฝึกให้เน้นการสอนนักเรียนด้วยวิธีการสืบสวนสอบสวน (Inquiry Method) ซึ่งเดิมใช้คำนี้ ต่อมาใช้คำว่าการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้  โดยเน้นการใช้คำถามในการเรียนการสอนตลอดเวลา  เป็นวิธีการที่ไม่มีขั้นตอนที่แน่นอน เพียงแต่เน้นการใช้คำถามนำให้ผู้เรียนคิดสืบเสาะหาความรู้ต่อไป ซึ่งนักการศึกษาเชื่อว่าจะช่วยทำให้นักเรียนมีความคิดแตกฉาน แล้วนำไปสู่การคิดที่เป็นกระบวนการ นั่นคือการคิดแบบวิทยาศาสตร์ หรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) นั่นเอง
            จะเห็นได้ว่า หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พ.ศ.2521 และมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ. 2524 เน้นให้ครูใช้วิธีการสืบเสาะหาความรู้ โดยให้วิธีการสอบแบบนี้ต่อเนื่องมาถึงหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พ.ศ. 2521 และหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย  พ.ศ. 2524 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533 โดยมีจุดมุ่งหมายให้นักเรียน
ได้ฝึกตั้งคำถาม สืบเสาะหาคำตอบ เพื่อนำไปสู่การคิดที่เป็นระบบอย่างนักวิทยาศาสตร์ในที่สุด
            สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (อ้างถึงใน ภพ เลาหไพบูลย์. 2537: 119 – 120) ได้เสนอแนะขั้นตอนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
1.       การอภิปรายเพื่อนำไปสู่การทดลอง
2.       การทดลอง
3.       การอภิปรายเพื่อสรุปผลการทดลอง
ครูวิทยาศาสตร์ จะพบขั้นตอนทั้ง 3 ขั้นตอนนี้เสมอในคู่มือครูวิทยาศาสตร์ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พ.ศ.2521 และหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย  พ.ศ. 2524 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533
หลังจากที่ใช้หลักสูตรดังกล่าวมานาน แม้ว่าจะเน้นให้ครูใช้วิธีการสืบเสาะหาความรู้ตลอดเวลาในการเรียนการสอน ก็ยังพบว่านักเรียนไม่ชอบคิด ขาดทักษะการคิด สถาบันส่งเสริมการสอนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2543) ระบุว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเมื่อเทียบกับนานาชาติ นักเรียนของไทยได้คะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ทำข้อสอบประเภทการนำความรู้มาใช้และกระบวนการคิดแก้ปัญหา ไม่ค่อยได้ เขียนอธิบายไม่ค่อยเป็น จากการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศ พบว่านักเรียนระดับมัธยมศึกษา
ตอนปลาย ทำข้อสอบภาคทฤษฎีได้ดีเมื่อเทียบกับนานาชาติ แต่แทบจะทำข้อสอบภาคปฏิบัติไม่ได้
นอกจากนี้คณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ (2540) ยังระบุนโยบายการศึกษาของไทยในแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 8 ที่ต้องการพัฒนาด้านกระบวนการคิดของเด็กไทยให้สูงขึ้น เนื่องจากพบว่าปัจจุบันคุณภาพการศึกษาของเด็กไทยน่าเป็นห่วง ความรู้ ความสามารถของเด็ดไทยเฉลี่ยอ่อนลง ทั้งในด้านกระบวนการคิด  วิเคราะห์ สังเคราะห์อย่างมีเหตุผล และการริเริ่มสร้างสรรค์           
หากจุดอ่อนของการศึกษาไทยทางด้านทักษะการคิดข้างต้น แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2545 – 2549 (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2545: 11 - 20) จึงกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ว่าต้องพัฒนาคน อย่างรอบด้านและสมดุล สร้างสมคมคุณธรรม ภูมิปัญญาและการเรียนรู้ พัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคม และกำหนดนโยบายด้านทักษะการคิดไว้ชัดเจน โดยให้พัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ เพื่อสร้างความรู้ความคิด ความประพฤติและคุณธรรมของคน อีกทั้งกำหนดเป้าหมายที่สอดคล้องกัน กล่าวคือต้องพัฒนาให้คนไทยทุกคนมีทักษะและกระบวนการในการคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหา มีความใฝ่รู้และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องเต็มตามศักยภาพ
นักการศึกษาทั่วไป จึงมองหาแนวทางการจัดการเรียนการสอนแนวใหม่ เพื่อหวังสร้างให้เด็กไทยคิดเป็น ต่อมาเริ่มเห็นว่าการจัดการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีการเรียนรู้แบบสรรค์สร้างความรู้ (Constructivism) ที่เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นในตัวของผู้เรียนเอง โดยครูเป็นผู้กระตุ้น ผู้อำนวยความสะดวก ซักถาม และจัดสถานการณ์ให้เหมาะสมกับความรู้เดิมของผู้เรียน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนคิด และเชื่อมโยงความรู้เองจนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย เก็บไว้ในหน่วยความจำระยะยาว น่าจะสามารถช่วยพัฒนาทักษะการคิด ของเด็กไทยได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาในประเทศไทย เห็นด้วยและได้นำทฤษฎีนี้มาใช้และเผยแพร่ในประเทศไทย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำแนวคิดทฤษฎีนี้ออกมาเผยแพร่ให้ครูทั่วไป พร้อมกับเสนอแนะแนวทางในการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการสืบเสาะหาความรู้กับการเรียนแบบร่วมมือว่าเป็นวิธีการที่สอดคล้องกับทฤษฎีนี้ โดยวิธีการสืบเสาะหาความรู้ได้ยึดตามแนวทางของนักศึกษาจากกลุ่ม BSCS (Biological Science Curriculum Study) ซึ่งได้เสนอขั้นตอนเป็นการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน (นันทิยา บุญเคลือบและคณะ. 2540) คือ ขั้นสร้างความสนใจ (engagement) ขั้นสำรวจและค้นหา (exploration) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (explanation) ขั้นขยายความรู้ (elaboration) และขั้นประเมิน (evaluation)
แต่ครูทั่วไปยังไม่นิยมนำไปใช้อย่างจริงจัง จนกระทั่งสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เผยแพร่โดยการจัดอบรมการเรียนการสอบแบบสืบเสาะหาความรู้อีกครั้งทั่วประเทศ เมื่อมีการประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 โดยเรียกว่าวิธีการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle)

ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E
            การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E หรือการสืบเสาะหาความรู้ ( Inquiry Cycle ) (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2546 : 219-220 ) มีขั้นตอนการจัดกิจกรรม 5 ขั้นดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ (engagement ) เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจ ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากความสงสัย หรืออาจเริ่มจากความสนใจของตัวนักเรียนเองหรือเกิดจากการอภิปรายในกลุ่ม เรื่องที่สนใจอาจมาจากเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลานั้น หรือเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่เพิ่งเรียนรู้มาแล้ว เป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนสร้างคำถามกำหนดประเด็นที่จะศึกษา
            2) ขั้นการสำรวจและค้นหา ( exploration ) เมื่อทำความเข้าใจในประเด็นหรือคำถามที่สนใจจะศึกษาอย่างถ่องแท้แล้ว ก็มีการวางแผนกำหนดแนวทางการสำรวจตรวจสอบ ตั้งสมมติฐาน กำหนดทางเลือกที่เป็นไปได้ ลงมือปฏิบัติเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อสนเทศ ทำกิจกรรมภาคสนาม การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยสร้างสถานการณ์จำลอง ( simulation ) การศึกษาหาข้อมูลเอกสารอ้างอิงหรือจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อ
ได้มาซึ่งข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะใช้ในขั้นต่อไป
            3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป ( explanation ) เมื่อได้ข้อมูลอย่างเพียงพอจากการสำรวจตรวจสอบ
แล้ว จึงนำข้อมูล ข้อสนเทศที่ได้มาวิเคราะห์ แปลผล สรุปผลและนำเสนอผลที่ได้ในรูปแบบต่างๆ
            4) ขั้นขยายความรู้ ( elaboration ) เป็นการนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิม หรือแนวคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติม หรือนำแบบจำลอง หรือข้อสรุปที่ได้ไปใช้อธิบายสถานการณ์ หรือเหตุการณ์
อื่นๆ ทำให้เกิดความรู้กว้างขวางขึ้น
            5) ขั้นประเมิน ( evaluation ) เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่างๆ ว่านักเรียนมีความรู้อะไรบ้าง อย่างไร และมากน้อยเพียงใด จากขั้นนี้จะนำไปสู่การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่นๆ

           อย่างไรก็ตามการที่เรียกการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E หรือวิธีการสืบเสาะหาความรู้เป็นภาษาอังกฤษว่า Inquiry Cycle หรือวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้นั้นสืบเนื่องมาจากในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E เมื่อสิ้นสุดการประเมินแล้วครูและนักเรียนก็สามารถเข้าสู่วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ใหม่ได้ต่อไปเหตุผลเพราะในชีวิตจริงมีเรื่องราว หรือสิ่งที่ชวนสงสัยน่าศึกษาต่อเนื่องตลอดเวลาไม่สิ้นสุด หาก
ทั้งครูและนักเรียนมีความใฝ่รู้ใฝ่เรียนตลอดเวลาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E จึงเป็นวัฏจักรต่อเนื่องไป
            อีกประการหนึ่งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบนี้ แม้ดำเนินขั้นตอนไปยังไม่ครบวัฏจักรก็สามารถขึ้นต้นวัฏจักรใหม่เพื่อสืบเสาะเรื่องใหม่ซ้อนอยู่ในวัฏจักรเดิมได้อีก เช่น เมื่อครูจัดกิจกรรมอยู่ในขั้นขยายความรู้ ครูไม่ใช้วิธีการบรรยาย แต่ครูต้องการจัดกิจกรรมอื่นแทน ดังนั้นครูอาจสร้างความสนใจเพื่อให้
นักเรียนสงสัยต่อแล้วสำรวจและค้นหาเพิ่มเติมต่อไป ดังแผนภาพข้างล่างนี้
แผนภาพ แสดงวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ที่เกิดจากการประยุกต์ใช้

           ดังนั้นจะเห็นว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E นี้เป็นอาวุธชั้นเยี่ยมขอครู ที่ครูแต่ละคนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ แล้วแต่ว่าใครจะมีเทคนิคในการปรับใช้อย่างไร หรือจะใช้เทคนิคใดสอดแทรกเข้าไปในแต่ละขั้นของ 5E นี้


ที่มา

อัมพร ม้าคะนอง. (2553). นวัตกรรมการสอนคณิตศาสตร์. (31 - 33). กรุงเทพฯแดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์
               ปอเรชั่น จำกัด.
ชาญณรงค์ วิเศษสัตย์(2555). http://mamay3naja.wixsite.com/jutatip305/services1. [Online]. เข้าถึงเมื่อ
               วันที่ 31 สิงหาคม 2561
สมบัติ  การจนารักพงค์. (2553). นวัตกรรมการศึกษา เทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E ที่เน้นพัฒนาทักษะ 
               การคิดขั้นสูง : กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (3 - 76). กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.